วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน


ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้ใน วิชา 1061601

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับผู้บริหาร
ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนในเรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ, เทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา,การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความตอ้งการภาครัฐและเอกชน,เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่,ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา,ประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา,คุณธรรมและจริยธรรมสำหรับผุ้บิรหารในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ,การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสถาบันการศึกษาในอนาคต ฯลฯ
แต่หลายสิ่งหลายอย่างซึ่งเป็นสิ่งที่ควรรู้และมีความสำคัญยิ่งที่อาจารย์ได้สอน เช่น มีความรู้ในเรื่องบรรณานุกรม , ความรู้เกี่ยวกับการทำ Web Blog , แนวทางในการสื่อสาร เผยแพร่ผลงานความรู้ ที่สามารถทำได้และมีประโยชน์, มีความรู้ในเรื่องเทคนิคการสอน การเรียนอย่างมีความสุข สนุกกับการเรียน , การได้ปฏิบัติในห้องคอมพิวเตอร์ที่ให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้และได้นำเสนอ, การเรียนแบบให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น , ตลอดจนสอนทักษะชีวิต ธรรมะ และการดำรงตนในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี หากผุ้เรียนเรียนแบบตั้งใจและพยายาม วิชานี้สอนอะไรที่ได้รับประโยชน์ถึงแม้จะไม่เป็นผู้บริหาร แต่การบริหารชีวิตทุกคนย่อมต้องทำแน่นอน ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติให้ชีวิตดีขึ้นได้

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2-3


สรุปการเรียนรู้ครั้งที่ 2
บทที่ 3 , บทที่ 4, บทที่ 5, และบทที่ 6

บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมากมายหลายด้าน ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ อาจมีดังต่อไปนี้
1. ด้านการวางแผน ในการกำหนดแนวทางในการดำเนินการขององค์กร
2. ด้านการตัดสินใจ เป็นการนำสารสนเทศไปใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในการแก้ปัยหา
3. ด้านการดำเนินงาน เป็นการนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงาน ในการควบคุมติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน
การตัดสินใจมี 3 ระดับ และ 3 ลักษณะคือ
1. การตัดสินใจระดับสูง เป็นการตัสนใจแบบไม่มีการวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เกี่ยวข้องกับอนาคตซื่งไม่แน่อน ไม่มีโครงสร้าง เกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมายขององค์การและการวางแผนระยะยาวเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
2.การตัดสินใจระดับกลาง เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเพื่อตอบสอดคล้องกับนโยบายผู้ของผู้บริหารระดับสูงจะเกี่ยวข้องกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง
3. กรรตัดสินใจระดับปฏิบัติการ เป็นการตัดสินใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานแต่ละวัน ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร ประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันดังนี้
1. ระบบประมวลผลกรายการ TPS
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS
3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS
5. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง ESS
เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเจริญก้าวหน้ามากขึ้น การดำเนินงานขององค์กรก็เปลี่ยนไปทุกองค์กรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ผลของความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้านดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
2. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนามคมเพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกมากขึ้น
3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาททางด้านธุรกิจอย่างมาก มีการลงทุนขยายขอบเขตการให้บริการโดยใช้ระบบสารสนเทศกันมากขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ ความรู้และปัญญา
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ข้อความหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการจัดกระทำและยังใช้ประโยชน์ไม่ได้
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วด้วยกระบวนการ วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
ความรู้ คือ การประยุกต์สารสนเทศโดยผ่านกระบวนการกลั่นกรอง กระบวนการคิด เชื่อมโยงกับความรู้อื่น ๆ จนเกิดความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้
ปัญญา คือ ความรู้ที่อยู่ในตัวคนซึ่งได้จากการตกผลึกองค์ความรู้ต่าง ๆก่อให้เกิดประโยชน์สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้
การวิเคราะห์กลยุทธ์ SWOT ซึ่งในการวิเคราะห์แบ่งเป็นองค์ประกอบปลัก 2 ส่วคือ
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน คือ การวิเคราะห์ปัจจุบันภายในขององค์กรโดยพิจารณาทั้งจุดแข็งจุดอ่อนเพื่อให้รู้ตนเอง
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก คือการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาสหรืออุปสรรคต่อการดำเนินงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภคอีกด้วย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน มีดังต่อไปนี้
1. เพิ่มปริมาณการขาย
2.การลดต้นทุนการผลิต
3.การเพิ่มผลผลิต
4.การเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ
5.การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม นวัตกรรมมีรากศัพท์มาจาก Innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และกรเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม แรงจูงใจการเรียนด้วยนวัตกรรทางการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา แบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2.นวัตกรรมการเรียนการสอน
3.นวัตกรรมสื่อการสอน
4.นวัตกรรมการประเมินผล
5.นวัตกรรมการบริหารจัดการ
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญ พอจะสรุปได้ 4 ประการคือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ความพร้อม
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางด้านวิชาการ
การสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนานวัฒกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบหลักการพัฒนานวัตกรรมและการประเมินการใช้นวัตกรรมดังนี้
*องค์ประกอบของการบริหารจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา
*ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา

หลักการของนวัตกรรมการศึกษามี 5 ประการคือ
1. นวัตกรรมเป็นเรื่องความคิด
2.นวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียนในการแข่งขัน
3.ประสิทธิภาพของนวัตกรรมสามารถเพิ่มราคาได้
4.ผู้บริหารสูงสุดต้องนำและมีความรับผิดชอบต่อนวัตกรรม
5.ผู้บริหารสูงสุดต้องผูกพันและแพร่กระจายไปยังบุคคลอีน
การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาเป็นความพยายามพึ่งพาอาศัยทักษะ ความช่างคิดและความรู้อย่างสูงแนวโน้มการสร้างและใช้นวัตกรรมในอนาครเริ่มจาการพัฒนาคนในองค์กร ซึ่งมุ่งเน้นในสถาบันการศึกษาเป็นหลัก โดยการสร้างแนวคิด สติปัญญาและส่งเสริมสนับนุนด้วยการจัดโครงสร้างและออกแบบองค์กรสอดคล้องต่อการสร้างและพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ในระดับบุคคล ระดับทีม และระดับองค์กร

บทที 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
โลกโลกาภิวัฒน์ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาและผลิตนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ ๆ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนการสอน่านเว็บไซต์ ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบผลงานการนำเสนอผลงานแบ่งเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่
*การนำเสนอในลักษณะการจัดการเรียนการสอนบนเว็บ
*การนำเสนอบทเรียนในลักษณะบทเรียนออนไลน์
บทเรียนออนไลน์ บางคนเรียนกว่า e-Learning เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะหรือรูปแบบที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
โมบายเลิร์นนิ่งเป็นการพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning คือ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย คือการศึกษาผ่านทางไกลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นการเรียนร้ผ่านระบบเอ็มเลิร์นนิ่งโดยเน้นที่การทำกิจกรรมเป็นกล่มเพื่อส่งและรับข้อมูลแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นและครูผู้สอน โดยสามารถส่งข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง มัลติมีเดีย เว็บไซด์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี
ห้องสมุดเสมือน เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์อย่างมาในด้านการเรียนการสอน การทำผลงานทางวิชาการ และการวิจัยของคณะจารย์ และเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้กับนักศึกษาในการเข้าใช้ห้องสมุดเสมือนในการสืบค้นฐานข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการเรียน การทำรายงานและการจัดทำภาคนิพนธ์ ตลอดจนวิทยานิพนธ์

บทคัดย่องานวิจัย

บทคัดย่องานวิจัย
ชื่อวิทยานิพนธ์ : การสร้างแผนการสอนและการศึกษาประสิทธิภาพของแผนการสอนวิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชน
ชื่อนักศึกษา : พิเชษฐ ยังตรง
สถาบัน : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปริญญา : มหาบัณฑิต
หลักสูตร : การศึกษา
สาขา : มัธยมศึกษา-การสอนสังคมศึกษา
ปี : 2527
ISBN : -
สืบค้นข้อมูลต้นสังกัด : http://www.library.msu.ac.th/
จำนวนเปิดอ่าน : 912 ครั้ง
บทคัดย่อ: ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อสร้างแผนการสอนอย่างมีระบบ 2. เพื่อศึกษาหาประสิทธิภาพของแผนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า แผนการสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงตามเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กลุ่มตัวอย่างมาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยการจับฉลากในทุกขั้นตอน ตามลำดับดังต่อไปนี้ 1. ครูสอนวิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2526จังหวัดสิงห์บุรี สุ่ม 10 คน จาก 12 โรงเรียน จำนวน 19 คน 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2526 จังหวัดสิงห์บุรีสุ่ม 10 ห้องเรียน จาก 8 โรงเรียน จำนวน 47 คน ได้นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 329 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล
ในการสร้างเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 การสร้างเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ตอนที่ 2 การทดลองใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นตอนที่ 1 การสร้างเครื่องมือสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือ ดังนี้ 1. การสร้างแผนการสอน เป็นแผนการสอนชนิดเรียงหัวข้อ รวม 5 แผนการสอนใช้เวลาในการสอนแผนการสอนละ 50 นาที ดังนี้ 1.1 แผนการสอนที่ 1 เรื่อง พุทธศาสนากับคนไทย 1.2 แผนการสอนที่ 2 เรื่อง สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา (วัด) 1.3 แผนการสอนที่ 3 เรื่อง ประติมากรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา (พระพุทธรูป) 1.4 แผนการสอนที่ 4 เรื่อง วรรณกรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา (วรรณคดี) 1.5 แผนการสอนที่ 5 เรื่อง วรรณกรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา (นิทานสุภาษิต) 2. การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ4 ตัวเลือก ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยพิจารณาตามจุดประสงค์การเรียนรู้ตรวจสอบหาค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางสถิติที่เรียกว่า High-Low 27 Percent Group Method of Item Analysis ได้ข้อสอบที่มีความยากง่ายระหว่าง .20-.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .20 ขึ้นไป จำนวน 31 ข้อตรวจสอบความเชื่อมั่นของข้อสอบโดยใช้สูตรของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน 20 (Kuder-RichardsonFormular 20) ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .82 3. การสร้างแบบประเมินผลแผนการสอน เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพแผนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า โดยแบ่งคำถามออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้ 3.1 มโนมติ 3.2 วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 3.3 เนื้อหา 3.4 กิจกรรมการเรียน 3.5 สื่อการสอน 3.6 การประเมินผล เลือกแบบสอบถามที่มีค่าอำนาจจำแนกสูงคือ มีค่าที (t-test) เท่ากับ 1.75 ขึ้นไปได้แบบสอบถามจำนวน 33 ข้อ ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยสูตรการหาค่าความเชื่อมั่นแบบแอลฟา (Coefficient Alpha) ของ ครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 ตอนที่ 2 การทดลองใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้ 1. นำแผนการสอนที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 คนเพื่อหาแนวปรับปรุงแก้ไขในเรื่องเวลา ความยากง่ายของเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการใช้สื่อการสอน การใช้แบบทดสอบ แล้วนำแผนการสอนที่ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้อีกครั้งหนึ่งกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียน แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งหนึ่งหลังจากนั้นนำไปผลิตเป็นแผนการสอนเพื่อใช้ในภาคสนามต่อไป 2. นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไปทดลองสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 3 ห้องเรียน นำมาตรวจให้คะแนน แล้วหาค่าอำนาจจำแนกค่าความยากง่ายและค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยขอความร่วมมือจากบัณฑิตวิทยาลัย ทำหนังสือเพื่อขอทำการทดลองในโรงเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ในการทดลองนี้ใช้ครูประจำการ โดยที่ผู้วิจัยเป็นผู้สังเกตการณ์โรงเรียนละ 2 ครั้งตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2526 - วันที่ 14 มกราคม 2527 การวิเคราะห์ข้อมูล หาประสิทธิภาพของแผนการสอนแต่ละแผนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐาน 80-80 โดยใช้อัตราส่วนดังนี้ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ใช้อัตราส่วนของ 80 เปอร์เซนต์ ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ทำคะแนนได้ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2. ความคิดเห็นของครูต่อแผนการสอน ใช้อัตราส่วน 80 เปอร์เซนต์ ของคะแนนความคิดเห็นที่ครูให้ได้ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ สรุปผลการศึกษาค้นคว้า จากการศึกษาค้นคว้า ผู้วิจัยขอแยกกล่าวเป็นหัวข้อดังนี้ 1. ลักษณะของแผนการสอนที่สมบูรณ์ 2. ข้อบกพร่องของแผนการสอนที่ 1 3. สรุปผลจากการศึกษาค้นคว้า ลักษณะของแผนการสอนที่สมบูรณ์ ควรมีองค์ประกอบดังนี้ 1. หัวเรื่อง 2. มโนมติ 3. วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 4. กิจกรรมการเรียน 5. สื่อการสอน 6. การประเมินผล สามารถแสดงเป็นแบบฟอร์มได้ดังนี้ ข้อบกพร่องของแผนการสอนที่ 1 1. วัตถุประสงค์ไม่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน ตัวอย่างเช่น วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ให้เหตุผลว่าวัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของคนในสังคมได้ถูกต้อง กิจกรรมการเรียน แจกเอกสารให้นักเรียนทุกๆ คนๆ ละ 1 ชุด ในเรื่องไม่สมชื่อ เป็นบทสนทนาระหว่างบุคคล 2 คน เนื้อความโดยสรุปคือ เด็กชายคนหนึ่งได้เงินจากมารดาแทนที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์กลับนำไปเที่ยวโดยชวนเพื่อนอีกคนหนึ่งไปด้วย ซึ่งไม่เห็นด้วยเกิดการโต้เถียงกัน ในที่สุดก็ไปเที่ยวด้วยกันและเกิดปัญหาตามมาคือเงินหมด ไม่มีเงินซื้อยาให้มารดาและค่ารถกลับบ้าน ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวมุ่งเน้นเรื่องความประหยัดการใช้เงินเสียมากกว่าจึงไม่ตรงกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้ 2. เนื้อหาไม่สัมพันธ์กับเวลา เพราะเนื้อมาก แต่เวลาน้อย 3. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนยากเกินความสามารถของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4. เนื่องจากแผนการสอนที่ 1 ยังเป็นของใหม่สำหรับนักเรียนในระดับนี้ นักเรียนยังไม่คุ้นเคยกับกิจกรรมการเรียนซึ่งต่างจากที่เคยปฏิบัติในชั้นเรียนปกติจึงทำให้สับสน ครูผู้สอนต้องเสียเวลาในการอธิบายวิธีปฏิบัติกิจกรรมมากจึงเกิดปัญหาเรื่องเวลา สรุปผลการศึกษาค้นคว้า จากการศึกษาพบว่า แผนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน80-80 4 แผนการสอน และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 80-80 1 แผนการสอน ดังมีรายละเอียดดังนี้ 1. แผนการสอนที่ผ่านเกณฑ์ ได้แก่ 1.1 แผนการสอนที่ 2 เรื่อง สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา (วัด) 1.2 แผนการสอนที่ 3 เรื่อง ประติมากรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา (พระพุทธรูป) 1.3 แผนการสอนที่ 4 เรื่อง วรรณกรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา (วรรณคดี) 1.4 แผนการสอนที่ 5 เรื่อง วรรณกรรมที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา (นิทานสุภาษิต) 2. แผนการสอนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ได้แก่ แผนการสอนที่ 1 เรื่อง พุทธศาสนากับคนไทย ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยมีความเห็นว่าการวางแผนการสอนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับครูทุกคน ไม่ว่าจะสอนวิชาใดๆ ก็ตาม โดยที่ได้มีการจัดลำดับประสบการณ์และกิจกรรมไว้เป็นขั้นตอน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ที่ตั้งไว้ ซึ่งเป็นผลทำให้ครูเกิดความมั่นใจในการสอนมากขึ้นเด็กนักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงและเรียนอย่างมีจุดหมายยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้เสนอแนะแนวทางในการทำแผนการสอนดังนี้ เนื่องจากการสร้างแผนการสอนครั้งนี้พบข้อบกพร่องในเรื่องต่อไปนี้ 1. เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนมากเกินไป ไม่เหมาะสมกับเวลาภายใน 1 คาบเรียนประมาณ 50 นาที 2. สื่อการสอนไม่ชัดเจน เช่น ตัวหนังสือในแผนภูมิเล็กเกินไป นักเรียนที่นั่งหลังชั้นเรียนมองไม่ค่อยเห็น 3. แบบทดสอบยากเกินไป โดยเฉพาะคำถาม-คำตอบยาวเกินไป ดังนั้นในการจัดทำแผนการสอนครั้งต่อไปจึงควรคำนึงและต้องกระทำในสิ่งต่อไปนี้ 1. ด้านเนื้อหา ต้องจัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับเวลา วัย และความสามารถของนักเรียน 2. ด้านกิจกรรมการเรียน ต้องเรียงลำดับขั้นตอนของระบบการเรียนการสอน ได้แก่ขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุป โดยพยายามเน้นให้นักเรียนเป็นผู้กระทำกิจกรรม ครูเป็นเพียงผู้แนะนำ ดูแล เท่านั้น และควรจัดกิจกรรมหลายๆ ประเภทในแต่ละคาบเรียนจะทำให้นักเรียนไม่เบื่อเรียน 3. ด้านสื่อการสอน ต้องสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน และต้องมีความชัดเจนสื่อความหมายได้ดี เช่น รูปภาพต้องใหญ่และชัดเจนเห็นได้ทั่วชั้นเรียน แผนภูมิต้องมีตัวอักษรที่ชัดเจน อ่านง่าย สามารถมองเห็นได้ทั่วชั้นเรียน 4. แบบทดสอบ ต้องมีความยากง่ายพอเหมาะกับวัยของนักเรียน คำถามต้องเป็นประโยคคำถาม และคำตอบต้องเป็นปรนัย ไม่คลุมเครือ ใช้ภาษาง่ายๆ อ่านแล้วไม่ต้องแปลภาษาไทยเป็นไทย

เอกสารอ้างอิง
พิเชษฐ์ ยังตรง.(2527). การสร้างแผนการและการศึกษาประสิทธิภาพของแผนการสอนวิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชน : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า
1. ทำให้ทราบแหล่งข้อมูลในการค้นคว้า บทคัดย่องานวิจัย
จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
2.ได้เรียนรู้วิธีการเขียนบทคัดย่อของวิทยานิพนธ์
3.ได้ทราบถึงวิธีการและรูปแบบการเขียนงานวิจัยที่ถูกต้อง
4.มีความรู้วิธีการเขียนแหล่งอ้างอิงของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.มีความรู้ที่จะได้จากการศึกษางานวิจัยไปพัฒนาการศึกษาในอนาคต
6.มีความรู้ที่จะนำไปบูรณาการและต่อยอดกับสาขาวิชาการอื่น ๆ ได้
7. มีความรู้ในการนำไปพัฒนาการทำวิจัยในอนาคตได้

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 1

1.สรุปความรู้จากการเรียนวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
ในบทที่ 1 การเรียนรู้ครั้งแรกได้รับความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยความหมายของข้อมูล สารสนเทศ ระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณสมบัติสารสนเทศที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร การจัดโครงสร้างของระบบสารสนเทศมี 4 ระดับ การไหลเวียนของสารสนเทศ การจัดการทรัพยากรสาสนเทศฯลฯ
ในบทที่ 2 มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา บทบาทของระบบเครือข่ายอินเทอรืเน็ตการสนับสนุนการศึกษา บทบาทของผู้บริหารการศึกษาต่อการพัฒนาการศึกษา

2.ประโยชน์ที่มีของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตต่อกระบวนการจัดการการศึกษา
มีประโยชน์อย่างมากต่อกระบวนการการศึกษา โดยการนำระบบเครือข่ายมาใช้พัฒนาการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยมากขึ้น สามารถนำความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายมาสนับสนุนการศึกษาทางด้านต่าง ๆ เช่น การเรียนการสอนแบบเดิมก็ปรับปรุงมาเป็นการศึกษาทางไกล ซึ่งมีประโยชน์ในการจัดการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่ง การเรียนการสอนผ่านระบบวีดีโอ โดยระบบรับส่งสัญญาณภาพ เสียง และข้อมูล จะสามารถให้ผู้เรียนผู้สอนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านทางอุปกรณ์ และเป็นการสื่อสารสองทางที่คุณสมบัติดีเยี่ยมอีกด้านหนึ่ง
ระบบการเรียนแบบออนไลน์ การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในการอธิบายเป็นตัวอักษร โดยเป็นหนังสือที่นำมาพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอล สามารถช่วยในการเรียนการศึกษาในเรื่องการทำวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ ผลงานวิจัย ผลงานทางวิชาการ หนังสือหายาก ฯลฯ

3.3 เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตเมื่อเทียบกับการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ข้อดี
1. สะดวก รวดเร็ว
2. ข้อมูลมีการแพร่หลาย และมากมายพอในการค้นหา
3. มีความทันสมัยทั้งข้อมูลเก่า หรือใหม่ ของข้อมูล
4. ประหยัดในการใช้งาน ประหยัดเวลาในการเรียนรู้
5. ข้อมูลหลายสิ่งเชื่อถือได้
6. พัฒนาความรู้ด้วยอย่างไม่สิ้นสุด

ข้อเสีย
1. ต้องมีความรู้พื้นฐานบ้างก็จะสามารถใช้งานง่าย

ภาพประทับใจ

สวยมาก ๆ ค่ะ บรรยากาศนะคะ
ปี 2550 ได้ศึกษาดูงานจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งไฝ่ฝันมานานแล้วตั้งแต่เด็ก ๆ การเดินทางในครั้งนี้สนุนสนานมากเพราะได้ความรู้และชอบมากค่ะที่ได้ท่องเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ มากมาย ที่เรายังไม่เคยไป

ตลอดเส้นทางการเดินทาง จะพบธรรมชาติที่สวยงาม ได้ถ่ายภาพกับเพื่อนร่วมงานมากมาย ถ้ารวมกันทั้งวิทยาลัยคงจะไม่ต่ำกว่า 700 ภาพเลยทีเดียว

เชียงใหม่ เชียงราย อากาศเย็นมาก ดอกไม้ที่นั่นสวย ต้นไม้เขียวชอุ่ม ร่มรื่น ประเพณีและวัฒนธรรมน่าสนใจดี

วันแรกเดินทางเหนื่อยมาก มาก ๆ เลยขอบอก พอไปถึงที่พักหายเหนื่อยเลยค่ะเพราะที่พักและสถาพแวดล้อมสวยมาก แต่น่าเสียดายอากาศหนาว หนาวจนน่าจะนอนเล่นมากกว่าการจะไปเดินเที่ยวค่ะ อาหารมื้อแรกที่อยากแนะนำนะคะ เดินทางมาตั้งไกลเจอปลากระป๋องค่ะ ปลากระป๋องยำยอดใบชา เมื่ออาหารมาถึงก็ดีค่ะคิดบวกเข้าไว้ อร่อยดีค่ะ แปลกดี



ถ้ามีโอกาสอยากให้ทุกคนไปเที่ยวนะคะ ดอยแม่สลอง ค่ะ


ปี 2551 ปีนี้ยิ่งดีใจมากเลยเพราะวิทยาลัยให้ศึกษาดูงานต่างประเทศ ไปประเทศลาวค่ะก็ดีนะคะประทับใจดีเพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เรา

ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น โดยเฉพาะการได้ขึ้นรถเพื่อชมบริเวณรอบ ๆ เมืองเวียงจันทร์ ชมการแต่งกาย ประเพณี ตลอดจนสถาปัตยกรรมก็น่าสนใจ

ประทับใจดีค่ะ เหมือนเดิมถ่ายรูปกันเป็น 100 ค่ะ



แนะนำตนเอง



ฉายานามที่เรียกขาน ดีใจหาย ร้ายสุดขั้ว

ชื่อที่เป็นทางการ นางสาวกรรณิกา ยงสิทธิวัฒน์

ชื่อเล่น กรรค่ะ

เป็นสาวดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนวิชาคอมพิวเตอร์ หลักสูตรปวช., ปวส.,หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น

ที่สถิตย์ วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรสงคราม

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา



ประวัติ








ชื่อ นางสาวกรรณิกา

นามสกุล ยงสิทธิวัฒน์

วันเดือนปีเกิด 28 สิงหาคม 2518

ที่อยู่ 102/1 ตำบลตาหลวง อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 70130

จบการศึกษา ปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

สถาบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สถานที่ทำงาน วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรสงคราม

ที่อยู่ 122 ม.12 ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม 75000

อาหารที่ชอบ แกงส้มชะอมไข่ , ผัดผักหวาน
ผลไม้ที่ชอบ ทุเรียน , ลำใย , เงาะ
งานอดิเรก ปลูกต้นไม้ ,ฟังเพลง