วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2-3


สรุปการเรียนรู้ครั้งที่ 2
บทที่ 3 , บทที่ 4, บทที่ 5, และบทที่ 6

บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐและเอกชน
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมากมายหลายด้าน ซึ่งการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ อาจมีดังต่อไปนี้
1. ด้านการวางแผน ในการกำหนดแนวทางในการดำเนินการขององค์กร
2. ด้านการตัดสินใจ เป็นการนำสารสนเทศไปใช้ในการสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในการแก้ปัยหา
3. ด้านการดำเนินงาน เป็นการนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงาน ในการควบคุมติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน
การตัดสินใจมี 3 ระดับ และ 3 ลักษณะคือ
1. การตัดสินใจระดับสูง เป็นการตัสนใจแบบไม่มีการวางแผนล่วงหน้าเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เกี่ยวข้องกับอนาคตซื่งไม่แน่อน ไม่มีโครงสร้าง เกี่ยวข้องกับการกำหนดเป้าหมายขององค์การและการวางแผนระยะยาวเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
2.การตัดสินใจระดับกลาง เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางเพื่อตอบสอดคล้องกับนโยบายผู้ของผู้บริหารระดับสูงจะเกี่ยวข้องกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง
3. กรรตัดสินใจระดับปฏิบัติการ เป็นการตัดสินใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานแต่ละวัน ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร ประกอบด้วยระบบสารสนเทศย่อยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันดังนี้
1. ระบบประมวลผลกรายการ TPS
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ MIS
3. ระบบสารสนเทศสำนักงาน OIS
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DSS
5. ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง ESS
เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเจริญก้าวหน้ามากขึ้น การดำเนินงานขององค์กรก็เปลี่ยนไปทุกองค์กรเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้
บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ผลของความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้านดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
2. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนามคมเพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกมากขึ้น
3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาททางด้านธุรกิจอย่างมาก มีการลงทุนขยายขอบเขตการให้บริการโดยใช้ระบบสารสนเทศกันมากขึ้น
ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สารสนเทศ ความรู้และปัญญา
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริง อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ข้อความหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ผ่านการจัดกระทำและยังใช้ประโยชน์ไม่ได้
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วด้วยกระบวนการ วิเคราะห์ สังเคราะห์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์
ความรู้ คือ การประยุกต์สารสนเทศโดยผ่านกระบวนการกลั่นกรอง กระบวนการคิด เชื่อมโยงกับความรู้อื่น ๆ จนเกิดความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้
ปัญญา คือ ความรู้ที่อยู่ในตัวคนซึ่งได้จากการตกผลึกองค์ความรู้ต่าง ๆก่อให้เกิดประโยชน์สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาได้
การวิเคราะห์กลยุทธ์ SWOT ซึ่งในการวิเคราะห์แบ่งเป็นองค์ประกอบปลัก 2 ส่วคือ
1. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน คือ การวิเคราะห์ปัจจุบันภายในขององค์กรโดยพิจารณาทั้งจุดแข็งจุดอ่อนเพื่อให้รู้ตนเอง
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก คือการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาสหรืออุปสรรคต่อการดำเนินงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในความรู้สึกของผู้บริโภคอีกด้วย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน มีดังต่อไปนี้
1. เพิ่มปริมาณการขาย
2.การลดต้นทุนการผลิต
3.การเพิ่มผลผลิต
4.การเพิ่มคุณภาพของสินค้าและบริการ
5.การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม นวัตกรรมมีรากศัพท์มาจาก Innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์ คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และกรเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม แรงจูงใจการเรียนด้วยนวัตกรรทางการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา แบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2.นวัตกรรมการเรียนการสอน
3.นวัตกรรมสื่อการสอน
4.นวัตกรรมการประเมินผล
5.นวัตกรรมการบริหารจัดการ
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญ พอจะสรุปได้ 4 ประการคือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ความพร้อม
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางด้านวิชาการ
การสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนานวัฒกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบหลักการพัฒนานวัตกรรมและการประเมินการใช้นวัตกรรมดังนี้
*องค์ประกอบของการบริหารจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา
*ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา

หลักการของนวัตกรรมการศึกษามี 5 ประการคือ
1. นวัตกรรมเป็นเรื่องความคิด
2.นวัตกรรมเป็นกุญแจสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียนในการแข่งขัน
3.ประสิทธิภาพของนวัตกรรมสามารถเพิ่มราคาได้
4.ผู้บริหารสูงสุดต้องนำและมีความรับผิดชอบต่อนวัตกรรม
5.ผู้บริหารสูงสุดต้องผูกพันและแพร่กระจายไปยังบุคคลอีน
การสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาเป็นความพยายามพึ่งพาอาศัยทักษะ ความช่างคิดและความรู้อย่างสูงแนวโน้มการสร้างและใช้นวัตกรรมในอนาครเริ่มจาการพัฒนาคนในองค์กร ซึ่งมุ่งเน้นในสถาบันการศึกษาเป็นหลัก โดยการสร้างแนวคิด สติปัญญาและส่งเสริมสนับนุนด้วยการจัดโครงสร้างและออกแบบองค์กรสอดคล้องต่อการสร้างและพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ในระดับบุคคล ระดับทีม และระดับองค์กร

บทที 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
โลกโลกาภิวัฒน์ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาและผลิตนวัตกรรมทางการศึกษาใหม่ ๆ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนการสอน่านเว็บไซต์ ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบผลงานการนำเสนอผลงานแบ่งเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้แก่
*การนำเสนอในลักษณะการจัดการเรียนการสอนบนเว็บ
*การนำเสนอบทเรียนในลักษณะบทเรียนออนไลน์
บทเรียนออนไลน์ บางคนเรียนกว่า e-Learning เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในลักษณะหรือรูปแบบที่มีการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
โมบายเลิร์นนิ่งเป็นการพัฒนาอีกขั้นของ e-Learning คือ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย คือการศึกษาผ่านทางไกลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่แบบไร้สายต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นการเรียนร้ผ่านระบบเอ็มเลิร์นนิ่งโดยเน้นที่การทำกิจกรรมเป็นกล่มเพื่อส่งและรับข้อมูลแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นและครูผู้สอน โดยสามารถส่งข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง มัลติมีเดีย เว็บไซด์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี
ห้องสมุดเสมือน เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์อย่างมาในด้านการเรียนการสอน การทำผลงานทางวิชาการ และการวิจัยของคณะจารย์ และเพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้กับนักศึกษาในการเข้าใช้ห้องสมุดเสมือนในการสืบค้นฐานข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการเรียน การทำรายงานและการจัดทำภาคนิพนธ์ ตลอดจนวิทยานิพนธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น